เมนู

ว่าด้วยนิทเทสวิตักกะที่ 6 เป็นต้น


ในวิตักกติกะ สภาวธรรมย่อมไม่ได้อยู่ในกุศลติกะกับวิจารที่เกิด
พร้อมกับวิตก. ในปีติสหคตติกะ ธรรมมีปีติเป็นต้นให้ภาวะแห่งธรรมที่เกิด
ร่วมกับตนเป็นธรรมสหรคตกับปีติเป็นต้นแล้ว ตนเองก็เป็นธรรมหมุนไปข้าง
หลัง ในติกะนี้ ไม่ได้สภาวธรรมแม้นี้คือ โทมนัสสสหคตจิตตุปบาท 2
ทุกขสหคตกายวิญญาณ อุเปกขาเวทนา รูป และนิพพาน เพราะติกะนี้ เมื่อ
ไม่ได้กุศลติกะนั่นแหละก็ชื่อว่า พ้นไปจากส่วนทั้ง 5 แม้นี้.

ว่าด้วยนิทเทสทัสสนติกะที่ 8


ในทัสสเนน ปหาตัพพติกะ บทว่า สญฺโญชนานิ (สังโยชน์)
ได้แก่ เครื่องผูก บทว่า สกฺกายทิฏฺฐิ (สักกายทิฏฐิ) ความว่า เมื่อกาย
กล่าวคือเบญจขันธ์มีอยู่ ด้วยอรรถว่า ปรากฏอยู่ หรือตนเองมีความเห็นผิด
ในกายที่มีอยู่นั้น เพราะเหตุนั้น ความเห็นผิดนั้น จึงชื่อว่า สักกายทิฏฐิ.
ส่วนความยึดมั่นที่ยึดถือว่า สัตว์อาจเพื่อบริสุทธิ์ด้วยศีล อาจเพื่อบริสุทธิ์ด้วย
วัตร อาจเพื่อบริสุทธิ์ด้วยศีลพรตดังนี้ ชื่อ สีลัพพตปรามาส.
แม้คำว่า อิธ เป็นนิบาตใช้ในอรรถอ้างถึงประเทศ อิธศัพท์นี้นั้น
ในที่บางแห่งตรัสหมายถึงโลก เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า พระตถาคตเจ้าย่อม
ทรงอุบัติขึ้นในโลกนี้ ดังนี้ ในที่บางแห่งหมายถึงศาสนา เหมือนที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ 1 สมณะที่ 2 มีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น ดังนี้
ในที่บางแห่งหมายถึงโอกาสเหมือนที่ตรัสไว้ว่า
อิเธว ติฏฺฐมานสฺส เทวภูตสฺส เม สโต
ปุนรายุ จ เม ลทฺโธ เอวํ ชานาหิ มาริส

เมื่อเรา (ท้าวสักกกะ) ผู้เป็นเทพดำรง
อยู่ในโอกาส (ถ้ำอินทสาล) นี้แหละ เราก็
ได้มีอายุต่อไป ดูก่อนผู้นิรทุกข์ ท่านจง
ทราบอย่างนี้
ดังนี้.
ในที่บางแห่ง ตรัสหมายเพียงทำบทให้เต็มเท่านั้น เหมือนที่ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเสวยแล้ว ดังนี้. แต่ในที่นี้บัณฑิตพึงทราบว่า
พระองค์ตรัสหมายถึงโลก.
ก็ในบทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน (ปุถุชนผู้มีได้รับการศึกษา) นี้
มีวินิจฉัยว่า บุคคลผู้อันบัณฑิตควรทราบว่าที่ชื่อว่า ผู้มิได้สดับ เพราะไม่มี
การศึกษาและการบรรลุมรรคผล จริงอยู่ บุคคลใดไม่มีการศึกษาเพราะเว้น
การศึกษา การสอบถาม การวินิจฉัยธรรม มีขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจยการ
และสติปัฏฐานเป็นต้น ไม่มีมรรคผล เพราะไม่ได้บรรลุมรรคผลที่ตนพึงบรรลุ
ได้ด้วยการปฏิบัติ เป็นผู้ปฏิเสธอยู่ด้วยมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า
ผู้ไร้การศึกษา เพราะไม่มีการศึกษาและการบรรลุมรรคผล ด้วยประการฉะนี้
บุคคลนี้เท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็น
ปุถุชน ด้วยเหตุทั้งหลาย มีการยังกิเลสเป็นอัน-
มากให้เกิดขึ้นเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ชนนี้ ชื่อว่า
ปุถุ (ผู้หนาแน่น) เพราะความเป็นผู้อยู่ภายใน
แห่งปุถุชน
ดังนี้.
จริงอยู่ ชนนั้น ชื่อว่า ปุถุชน ด้วยเหตุทั้งหลายมีการยังกิเลสเป็น
ต้นมากมายมีประการต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นก็มี เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า ชื่อว่า
ปุถุชน เพราะอรรถว่า ย่อมยังกิเลสมากให้เกิด. ชื่อว่า ปุถุชน เพราะ

อรรถว่า เป็นพวกที่ยังมิได้ฆ่าสักกายทิฏฐิ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า
เป็นพวกที่คอยมองดูหน้าศาสดาต่าง ๆ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็น
พวกที่ออกไปจากคติทั้งปวงไม่ได้ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวก
สร้างอภิสังขารต่างๆ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกถูกห้วงโอฆะต่าง ๆ
พัดไปอยู่ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกเร่าร้อนอยู่ด้วยความเร่าร้อน
ต่าง ๆ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกถูกเผาอยู่ด้วยความร้อนต่าง ๆ
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกกำหนัด ยินดี รักใคร่ สยบ
หมกมุ่น ติดข้องพัวพันในกามคุณ 5 ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็น
พวกถูกนิวรณ์ 5 กางกั้นแล้ว หุ้มห่อแล้ว ปกคลุมแล้ว ปิดบังแล้ว ซ่อนเร้น
ไว้แล้ว ให้ถอยกลับแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน แม้เพราะความที่พวกชนเป็นอันมาก
เป็นผู้อยู่ภายในแห่งชนทั้งหลายเหลือคณนา ล้วนแต่เบือนหน้าหนีธรรมของ
พระอริยะ และมีการประพฤติธรรมต่ำทรามเสมอ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน
เพราะอรรถว่า ชนนี้เป็นพวกถึงการนับแยกไว้ต่างหากบ้าง ชนนี้เป็นผู้ไม่
เกี่ยวข้องกับพระอริยะทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณมีศีล และสุตะเป็นต้นบ้าง.
ด้วยบททั้งสองว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน (ปุถุชนผู้ไร้การศึกษา)
ตามที่กล่าวแล้วนี้
ทุเว ปุถุชฺชนา วุตฺตา พุทฺเธนาทิจฺจพนฺธุนา
อนฺโธ ปุถุชฺชโน เอโก กลฺยาเณโก ปุถุชฺชโน

อันพระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์แห่งพระ-
อาทิตย์ ตรัสปุถุชนเหล่าใดเป็น 2 พวก
คือ อันธปุถุชน 1 กัลยาณปุถุชน 1

ปุถุชน 2 พวกเหล่านั้น เป็นอันตรัสแล้วด้วยประการฉะนี้ บรรดาปุถุชน 2
พวกเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ในที่นี้ตรัสอันธปุถุชน.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อริยานํ อทสฺสาวี (ไม่ได้เห็น
พระอริยเจ้า) ต่อไป. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
พุทธสาวกทั้งหลายเรียกว่า พระอริยเจ้า เพราะไกลจากกิเลส เพราะไม่ดำเนิน
ไปในทางเสื่อม เพราะดำเนินไปในทางเจริญ และเพราะอันโลกพร้อมทั้ง
เทวโลกพึงบูชา. แต่ในที่นี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่า พระอริยเจ้า
เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต ฯลฯ บัณฑิตเรียกว่า
อริยะ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ดังนี้.
ส่วนในคำว่า สัตบุรุษ นี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย สาวกของ
พระตถาคตทั้งหลาย พึงทราบว่า ชื่อสัตบุรุษทั้งหลาย จริงอยู่ พระปัจเจก-
พุทธะเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า สัตบุรุษ เพราะอรรถว่า เป็นบุรุษผู้งามด้วย
การประกอบด้วยโลกุตรคุณ. อีกอย่างหนึ่ง พระอริยเจ้าทั้งหมดก็ตรัสชื่อไว้
2 อย่าง จริงอยู่ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นพระอริยเจ้าและเป็น
สัตบุรุษ พระปัจเจกพุทธะและพระสาวกของพระตถาคตเจ้าชื่อว่า พระอริยเจ้า
และสัตบุรุษ
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
บุคคลใดแล เป็นคนกตัญญูกตเวที
มีปัญญา เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้ภักดี-
มั่นคงย่อมทำกิจโดยเคารพแก่บุคคลผู้มีทุกข์
บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกบุคคลเช่นนั้นว่า
สัตบุรุษ.

ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ว่า เป็นกัลยาณมิตร เป็นผู้ภักดีมั่นคง ดังนี้
ตรัสถึงสาวกของพระพุทธเจ้า ด้วยคำว่า เป็นคนกตัญญูเป็นต้น ตรัสถึง
พระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า ดังนี้.
บัดนี้ พึงทราบว่า บุคคลใดมีปรกติไม่เห็นพระอริยเจ้าเหล่านั้น และ
ไม่มีสาธุการในการเห็น บุคคลนั้น ชื่อว่า ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า. ก็บุคคล
ผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้านั้นมี 2 อย่าง คือ ไม่เห็นด้วยจักขุ และไม่เห็นด้วยญาณ
ในการไม่เห็นทั้ง 2 นั้น ในที่นี้ พระองค์ทรงประสงค์เอาผู้ไม่เห็นด้วยญาณ
จริงอยู่ พระอริยเจ้าทั้งหลาย แม้บุคคลเห็นด้วยมังสจักษุหรือทิพยจักษุก็ไม่
ชื่อว่าเห็นได้เลย เพราะความที่จักษุเหล่านั้นถือเอาเพียงสี (วรรณะ) เป็น
อารมณ์ มิใช่คุณธรรมมีความเป็นพระอริยะเป็นอารมณ์ แม้สัตว์ทั้งหลายมี
สุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้นก็ย่อมเห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายด้วยจักษุ แต่
สัตว์เหล่านั้นไม่ชื่อว่าเห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ในข้อนั้น มีเรื่องต่อไปนี้ เป็น
อุทาหรณ์.

เรื่องการไม่เห็นพระอริยะ


ได้ยินว่า พระอุปัฏฐากของพระขีณาสพเถระผู้อยู่ในวิหารจิตตลบรรพต
เป็นพระบวชเมื่อแก่ วันหนึ่ง เมื่อเที่ยวไปบิณฑบาตกับพระเถระรับบาตรจีวร
ของพระเถระแล้วก็เดินตามหลังไป ถามพระเถระว่า ท่านขอรับ ชื่อว่าพระอริยะ
ทั้งหลายเป็นเช่นไร ? พระเถระตอบว่า คนแก่บางคนในโลกนี้รับบาตรจีวร
ของพระอริยะทั้งหลาย ทำวัตรปฏิบัติแล้ว แม้เที่ยวไปด้วยกันก็ไม่รู้พระอริยะ
ทั้งหลาย ดูก่อนอาวุโส พระอริยะทั้งหลายรู้ได้ยากอย่างนี้ ดังนี้. แม้พระเถระ
พูดอย่างนี้ พระขรัวตานั้นก็หาเข้าใจไม่.